วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2



แบบฝึกหัด
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
คำสั่ง หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
   ตอบ ในความคิดของกระผมถือได้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่คนเดียวได้ จึงต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวก เป็นกลุ่มเป็นก้อน เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ ระดับครอบครัว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีจำนวนมากขึ้นก็รวมกันเป็นเผ่าเป็นกลุ่มชนและสุดท้ายเผ่าที่มีสายพันธุ์เดียวกันก็รวมเข้าด้วยกันกลายเป็นกลุ่มชนใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นรัฐ เป็นประเทศ การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จำเป็นที่ต้องมีการติดต่อกัน เพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต บางครั้งมนุษย์ก็มีความต้องการที่จะทำอะไร ๆ ตามใจตนเองบ้าง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นมาได้ มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคม

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
   ตอบ กระผมคิดว่าไม่ได้ เพราะ กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคมและเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข หากไม่มีกฎหมาย สังคมนั้นก็จะมีปัญหาที่เกิดมนุษย์กระทำ ทั้งการทะเลาะวิวาทก่อความวุ่นวาย เนื่องจากไม่มีระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกัน ทำให้ใครสามารถทำอะไรก็ได้ตามใจตนเองหรืออำนาจที่มีอยู่จนสังคมนั้นเกิดปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้

3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้

ก. ความหมาย

ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย

ค. ที่มาของกฎหมา

ง. ประเภทของกฎหมาย

       ก. ความหมาย

       ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐธิปไตยจากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ

     ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
    ตอบ องค์ประกอบที่สำคัญของกฎหมายที่สำคัญคือ ประชาชนที่อยู่ร่วมกันในอาณาเขตเดียวกัน และมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง พอที่จะสรุปได้ว่า ลักษณะหรือองค์ประกอบได้ 4 ประการ คือ 
   1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดสามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมาย ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติ ออกคาสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย
   2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
   3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัว และถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขใด
   4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายกำหนด

   ค. ที่มาของกฎหมาย
   ตอบ ที่มาของกฎหมายในประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
   1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
   2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
   3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
   4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินซึ่งจะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด 
   5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
  
    ง. ประเภทของกฎหมาย
   ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆไปดังนี้ 1. กฎหมายภายใน
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
   1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
   1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
   1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
   1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
   1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
   1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
   1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
2. กฎหมายภายนอก
   2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
   2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
   2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
   ตอบ กระผมคิดว่าการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จากชุมชนจนเป็นประเทศ เมื่อมีจำนวนคนเพิ่มขึ้น ความต้องการทรัพยากรมีมากขึ้น ดังนั้น มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกันเพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นเรียกว่า "กฎหมาย"

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
   ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ โทษต่างๆในกฎหมายที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือเสียค่าปรับตามโทษฐานหรือข้อหาที่ทำผิด

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
   ตอบ สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความแตกต่างกันด้วยสภาพบังคับในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน แต่สภาพบังคับในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
   ตอบ ระบบกฎหมายเป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบดังนี้
   1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น โดยเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
   2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
   ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
   1.1 ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
   1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
   2.1 กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
   2.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้ กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
   3.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
   3.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
   ตอบ “ศักดิ์ของกฎหมาย” คือ “เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย พอที่จะสรุปได้ดังนี้
   1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ
   2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย
   3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ
   4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
   5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย
   6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออกกฎหมาย เพื่อให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น
   7. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล
   8. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ่งอาศัยความหนาแน่นของประชากร
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
    ตอบ ในฐานะที่กระผมเรียนวิชานี้ทำให้ดิฉันคิดว่า รัฐบาลกระทำผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะคิดกระทำการเพื่อความถูกต้อง มีสิทะิที่จะมาชุมนุมอย่างสงบ แต่การที่รัฐบาลลงมือทำร้ายประชาชนนั้น เป็นการทำเกินกว่าเหตุ เนื่องจากประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันในการกระทำสิ่งใดที่ไม่ผิดหลักกฎหมาย ดังนั้นรัฐบาลไม่สามารถลงมือทำร้ายประชาชนได้ ซึ่งประชาชนไม่ได้ก่อเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทเพียงเเค่ชุมนุมกันเพื่อเเสดงความเดือดร้อนของตนเองให้รัฐบาลได้รับรู้ การกระทำดังกล่าวทำให้รัฐบาลเป็นฝ่ายกระทำรุนแรงต่อประชาชน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
   ตอบ กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ เป็นกรอบเเนวทางในการปฏิบัติหรือการพัฒนาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน หรือด้านบุคลากรเอง หรือการจัดการอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
   ตอบ กระผมคิดว่า เมื่อเราประกอบอาชีพข้าราชการครูแล้วเราจำเป็นที่ต้องศึกษากฎหมายการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งจุดมุ่งหมายและหลักการหน้าที่ในการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษา แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติตนเองให้อยู่ในจรรยาบรรณที่ดี เพราะถ้าเราไม่รู้กฎหมายการศึกษาบางครั้งเราก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการศึกษาที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองหรือนักเรียนได้ ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นกรอบเเนวทางข้อบังคับในการดำเดินงานของบุคคลากรทางการศึกษาเเละมีบทลงโทษสำหรับการทำผิดเพื่อความสงบสุขในการประกอบอาชีพรับราชการครู

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นายวีรภัทร แสนเสนาะ ชื่อเล่น กันต์   
รหัสประจำตัวนักศึกษา 5881103060
ที่อยู๋ 140/3 ม.4 ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000
จบมาจากโรงเรียน ท่านครญาณวโรภาสอุทิศ
เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2539 สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ กรุ๊ปเลือด o
เบอร์โทรศัพท์ 064-8253936
 Facebook: Wirapat Gunn 
ปัจจุบันกำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
 สิ่งที่ชอบ คือ ชอบออกกำลังกาย

อุดมการณ์ความเป็นครู มุ่งพัฒนาอนาคตของชาติ ให้เท่าทันต่อโลก เน้นคนดีและเก่ง อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมี ความสุข

เป้าหมาย ครูพันธ์ใหม่ ใส่ใจพัฒนา